วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ที่มาของนิทานอีสป

ก่อนอื่น เราขอบอกคร่าวๆ ว่านี่เป็นเพียงเรื่องที่เราสรุปมาคร่าวๆ แล้วเห็นว่ามันน่าจะสัมพันกัน เพราะตัวเองนั้นไม่ได้มีความรู้เรื่องนี้มาก่อน
แต่เรื่องมันเริ่มต้นที่ ตอนนี้เรากำลังเรียนเกี่ยวกับวรรณกรรม ในชั่วโมงเรียนภาษาเยอรมันอยู่ อาจารย์ที่สอนก็มักจะนำหลักการและการณ์วิจารณ์เรื่องสั้น วรรณกรรม กลอน นิทาน ตำนาน นิยาย มาสอน
ในวันนั้น อาจารย์ได้ให้หัวข้อๆ หนึ่งมาว่า Fable (หรือ Fabel ในภาษาเยอรัมน) แล้วอธิบายว่ามันคืออะไร
Fable คือ นิทานสั้นๆ ที่ให้คติสอนใจ นิทานเปรียบเทียบ ชาดก ตำนาน ความเท็ญ โดยการนำตัวละครออกมาสื่อความหมาย ซึ่งบ้านเราเรียก Fable ว่านิทานอีสป
แต่เราก็สงสัยเหมือนกันว่า ทำไมต้องเป็นนิทานอีสป ทำไมไม่เรียกว่านิทานฟาเบล หรืออะไรประมาณนั้น ^O^ แต่มันมีที่มาที่ไป
เหตุผลที่มันมีชื่อว่า "นิทานอีกสป" มันก็มีอยู่ว่า เนื่องจากในสมัยศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล หรือ 550 ปีก่อนคริสตกาลนั้น สิทธิในการออกความเห็นทางด้านสังคมไม่ได้เท่าเทียมกันเท่าไหร่นัก
เพราะทาส ไม่มีสิทธิที่จะประกาศความคิดความเห็นออกมาอย่างโจงแจ้งได้เหมือนในทุกวันนี้ แต่เพราะเหตุนี้ ได้ทำให้เหล่าทาสรู้สึกกดดัน ซึ่ง หนึ่งในนั้นก็พยายามหาหนทางที่บอกความคิดความเห็นของตนให้คนอื่นรู้ เขาก็คือ อีสป Aesop
อีสป คือ ทาสชาวกรีกโบราณ ที่ปลดตนเป็นไทด้วยความสามารถในการพูดของเขา เขาคือคนแรกที่คิดค้นการเล่านิทานทางศีลธรรม ผิดชอบชั่วดี โดยการนำเสนอผ่านตัวละครที่เป็น สัตว์ เพราะเขาเองไม่สามารถออกความเห็นในฐานะทาสได้อย่างตรงๆ เหมือนที่เราทำกันทุกวัน
ความฉลาดของเขา เขาได้สื่อเรื่องราวทางด้านศีลธรรมออกมา โดยไม่จำเป็นต้องเอาบุคคลมาอ้าง เพื่อให้มีตัวตน แต่ได้นำสัตว์ ที่เราไม่สามารถสื่อสารด้วยได้ มาบอกเล่าเรื่องราวเหล่านี้ บอกเล่าการกระทำผิดชอบชั่วดี เพื่อสื่อให้คนเราได้คิดได้เห็น

(บทสรุป ผู้คิดค้นนิทานประเภทนี้ก็คือท่าน อีสป นั่นเอง)
อาจจะเป็นอย่างนี้ล่ะมั้ง นิทานศีลธรรมในบ้านเรา จึงมีชื่อว่า "นิทานอีสป"
นิทานอีสปที่ดังๆ ก็มี เด็กเลี้ยงแกะ ลาโง่ หมาจิ้งจอกกับองุ่น กระต่ายกับเต่า และยังมีเรื่องอื่นๆ อีกมากมาย
ของบ้านเราก็มี ชาวนากับงูเห่า
ถ้าจะถามว่า ในทุกวันนี้ มีความจำเป็นไหมที่เราจะแต่งนิทานประเภทนี้ ก็คงตอบได้ว่าไม่จำเป็น เพราะเราสามารถออกความเห็นได้อย่างโจ่งแจ้ง โดยไม่ต้องกลัวว่าจะโดนลงโทษ ตราบใดที่เราไม่ได้หมิ่นประมาทใคร แต่ในสมัยนั้นการออกความคิดเห็นเป็นเรื่องยากนักสำหรับทาสและผู้หญิง
แต่ก็น่าแปลก ที่นิทานประเภทนี้สามารถนำมาใช้ได้ตราบจนทุกวันนี้ และก็เข้ากับทุกยุคทุกสมัยด้วย
ตอนเราเป็นเด็ก เราเคยมีเทปนิทานอีสปหนึ่งม้วน ตอนนั้นชอบฟังมาก แต่ไม่รู้หรอกว่าที่มาที่ไปมันเป็นยังไง ไม่เคยอยากรู้ด้วย เราเป็นคนที่ไม่ชอบอ่านอะไรยาวๆ แต่เป็นคนชอบอ่านคติสอนใจ นิทานอีสปจึงเป็นสิ่งเดียวที่เราอ่านสมัยเด็กๆ แต่ตอนนี้ก็อ่านหลายอย่างแต่ไม่มากนัก
พอรู้ที่มาที่ไปของนิทานแล้ว ก็รู้สึกแปลกดีเหมือนกัน เพราะตอนอยู่ไทยไม่ค่อยได้สนใจในห้องเรียนเท่าไหร่ พอมาอยู่ต่างแดน มีคนอธิบายชื่อของคนนั้นคนนี้ ที่ฟังแล้วมันตะหงิดๆ เลยมาลองค้นคว้าดู มันมีส่วนเกี่ยวข้องกันดีเนาะ

ที่มาของข้อมูล : ก็มาจาก Wikipedia และอาจารย์สอนภาษาเยอรมันของเรานั่นเอง

ข้อมูลอาจจะผิดเพี้ยนไปบ้าง แต่นี่เป็นเพียงบทสรุปส่วนตัวเท่านั้น ถ้าใครรู้อะไรมากกว่าที่เรารู้ล่ะก็ สามารถแบ่งปันความรู้มาได้ตามสบายนะจ๊ะ เรายินดีรับฟัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น