วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ที่มาของนิทานอีสป

ก่อนอื่น เราขอบอกคร่าวๆ ว่านี่เป็นเพียงเรื่องที่เราสรุปมาคร่าวๆ แล้วเห็นว่ามันน่าจะสัมพันกัน เพราะตัวเองนั้นไม่ได้มีความรู้เรื่องนี้มาก่อน
แต่เรื่องมันเริ่มต้นที่ ตอนนี้เรากำลังเรียนเกี่ยวกับวรรณกรรม ในชั่วโมงเรียนภาษาเยอรมันอยู่ อาจารย์ที่สอนก็มักจะนำหลักการและการณ์วิจารณ์เรื่องสั้น วรรณกรรม กลอน นิทาน ตำนาน นิยาย มาสอน
ในวันนั้น อาจารย์ได้ให้หัวข้อๆ หนึ่งมาว่า Fable (หรือ Fabel ในภาษาเยอรัมน) แล้วอธิบายว่ามันคืออะไร
Fable คือ นิทานสั้นๆ ที่ให้คติสอนใจ นิทานเปรียบเทียบ ชาดก ตำนาน ความเท็ญ โดยการนำตัวละครออกมาสื่อความหมาย ซึ่งบ้านเราเรียก Fable ว่านิทานอีสป
แต่เราก็สงสัยเหมือนกันว่า ทำไมต้องเป็นนิทานอีสป ทำไมไม่เรียกว่านิทานฟาเบล หรืออะไรประมาณนั้น ^O^ แต่มันมีที่มาที่ไป
เหตุผลที่มันมีชื่อว่า "นิทานอีกสป" มันก็มีอยู่ว่า เนื่องจากในสมัยศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล หรือ 550 ปีก่อนคริสตกาลนั้น สิทธิในการออกความเห็นทางด้านสังคมไม่ได้เท่าเทียมกันเท่าไหร่นัก
เพราะทาส ไม่มีสิทธิที่จะประกาศความคิดความเห็นออกมาอย่างโจงแจ้งได้เหมือนในทุกวันนี้ แต่เพราะเหตุนี้ ได้ทำให้เหล่าทาสรู้สึกกดดัน ซึ่ง หนึ่งในนั้นก็พยายามหาหนทางที่บอกความคิดความเห็นของตนให้คนอื่นรู้ เขาก็คือ อีสป Aesop
อีสป คือ ทาสชาวกรีกโบราณ ที่ปลดตนเป็นไทด้วยความสามารถในการพูดของเขา เขาคือคนแรกที่คิดค้นการเล่านิทานทางศีลธรรม ผิดชอบชั่วดี โดยการนำเสนอผ่านตัวละครที่เป็น สัตว์ เพราะเขาเองไม่สามารถออกความเห็นในฐานะทาสได้อย่างตรงๆ เหมือนที่เราทำกันทุกวัน
ความฉลาดของเขา เขาได้สื่อเรื่องราวทางด้านศีลธรรมออกมา โดยไม่จำเป็นต้องเอาบุคคลมาอ้าง เพื่อให้มีตัวตน แต่ได้นำสัตว์ ที่เราไม่สามารถสื่อสารด้วยได้ มาบอกเล่าเรื่องราวเหล่านี้ บอกเล่าการกระทำผิดชอบชั่วดี เพื่อสื่อให้คนเราได้คิดได้เห็น

(บทสรุป ผู้คิดค้นนิทานประเภทนี้ก็คือท่าน อีสป นั่นเอง)
อาจจะเป็นอย่างนี้ล่ะมั้ง นิทานศีลธรรมในบ้านเรา จึงมีชื่อว่า "นิทานอีสป"
นิทานอีสปที่ดังๆ ก็มี เด็กเลี้ยงแกะ ลาโง่ หมาจิ้งจอกกับองุ่น กระต่ายกับเต่า และยังมีเรื่องอื่นๆ อีกมากมาย
ของบ้านเราก็มี ชาวนากับงูเห่า
ถ้าจะถามว่า ในทุกวันนี้ มีความจำเป็นไหมที่เราจะแต่งนิทานประเภทนี้ ก็คงตอบได้ว่าไม่จำเป็น เพราะเราสามารถออกความเห็นได้อย่างโจ่งแจ้ง โดยไม่ต้องกลัวว่าจะโดนลงโทษ ตราบใดที่เราไม่ได้หมิ่นประมาทใคร แต่ในสมัยนั้นการออกความคิดเห็นเป็นเรื่องยากนักสำหรับทาสและผู้หญิง
แต่ก็น่าแปลก ที่นิทานประเภทนี้สามารถนำมาใช้ได้ตราบจนทุกวันนี้ และก็เข้ากับทุกยุคทุกสมัยด้วย
ตอนเราเป็นเด็ก เราเคยมีเทปนิทานอีสปหนึ่งม้วน ตอนนั้นชอบฟังมาก แต่ไม่รู้หรอกว่าที่มาที่ไปมันเป็นยังไง ไม่เคยอยากรู้ด้วย เราเป็นคนที่ไม่ชอบอ่านอะไรยาวๆ แต่เป็นคนชอบอ่านคติสอนใจ นิทานอีสปจึงเป็นสิ่งเดียวที่เราอ่านสมัยเด็กๆ แต่ตอนนี้ก็อ่านหลายอย่างแต่ไม่มากนัก
พอรู้ที่มาที่ไปของนิทานแล้ว ก็รู้สึกแปลกดีเหมือนกัน เพราะตอนอยู่ไทยไม่ค่อยได้สนใจในห้องเรียนเท่าไหร่ พอมาอยู่ต่างแดน มีคนอธิบายชื่อของคนนั้นคนนี้ ที่ฟังแล้วมันตะหงิดๆ เลยมาลองค้นคว้าดู มันมีส่วนเกี่ยวข้องกันดีเนาะ

ที่มาของข้อมูล : ก็มาจาก Wikipedia และอาจารย์สอนภาษาเยอรมันของเรานั่นเอง

ข้อมูลอาจจะผิดเพี้ยนไปบ้าง แต่นี่เป็นเพียงบทสรุปส่วนตัวเท่านั้น ถ้าใครรู้อะไรมากกว่าที่เรารู้ล่ะก็ สามารถแบ่งปันความรู้มาได้ตามสบายนะจ๊ะ เรายินดีรับฟัง

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

สุนัขกับ เนื้อ

สุนัข เป็นสัตว์ที่ชอบกินเนื้อเป็นชีวิตจิตใจ

แต่ยังมีสุนัขตัวหนึ่งได้รักการฝึกฝนให้รู้จักการอดกลั้นหักห้ามใจไม่ให้กิน

เนื้อและอาหารที่ผู้เป็นนายหญิงใช้ให้มันนำไปส่งสามีของเธอซึ่งทำงานอยู่ใน ไร่ มัน

พยายามทำหน้าที่สุนัขส่งอาหารด้วยความซื่อสัตย์เสมอมา แม้จะฝืนกับความรู้สึกของตนเองอย่างไรก็ตามอยู่มาวันหนึ่ง

สุนัขส่งอาหารพบกับสุนัขจรจัดตัวหนึ่งซึ่งลำตัวของมันใหญ่และแข็งแรงเจ้า

สุนัขจรจัดพยายามเข้ายื้อแย่งอาหารและเนื้อสุนัขส่งอาหารต่อสู้จนสุดความ สามารถ

ขณะนั้นมีสุนัขอีกตัวหนึ่งมาเห็นเหตุการณ์มันได้เข้าแย่งชิงเนื้อและอาหาร เช่นเดียวกัน เกิดการต่อสู้กันชุลมุนวุ่นวาย

ในที่สุดเนื้อก็ถูกชิงไปได้ “ขอเนื้อให้เข้าสักหน่อยเถิด” สุนัขผู้มีหน้าที่ส่งอาหารกล่าวกับสุนัขอีกสองตัวนั้น

“เพราะไหนๆมันก็คงต้องถูกพวกเจ้ากินอย่างแน่นอนอยู่แล้ว”

ด้วยเหตุนี้สุนัขทั้งสามจึงแบ่งเนื้อกันกินตามจำนวนที่แย่งชิงได้

นิทานเรื่องนี้ให้คติสอนใจ และสอนให้รู้ว่า เป็นการยากที่จะให้ผู้อื่นร

ักษาผลประโยชน์ของเราด้วยความซื่อสัตย์

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

หมูป่า กับ หมาจิ้งจอก

หมู ป่าตัวหนึ่งรูปร่างล่ำสัน มีเขี้ยวยาวโง้งเป็นที่น่าเกรงขามของสัตว์ทั้งหลาย

วันหนึ่งหมาจิ้งจอกเห็นหมูป่ากำลังลับเขี้ยวของตนอยู่กับต้นไม้ จึงแวะเข้าไปถามไถ่ “จะ

ต้องลับเขี้ยวเล็บให้เสียเวลาทำไมกัน ในป่าแห่งนี้ไม่มีใครปราดเปรียวว่องไวไปกว่าท่าน

อีกทั้งหมาล่าเนื้อหรือนายพรานก็ไม่เห็นเข้ามาหาเหยื่อแถวนี้เลย” “แต่

นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าวันหนึ่งข้างหน้าจะไม่มีภัยอันตรามาถึงตัว” หมูป่ากล่าวตอบ

“และเมื่อถึงเวลานั้นค่อยคิดลับเขี้ยวเล็บของเจ้าย่อมไม่ทันการอย่างแน่นอน”

นิทานเรื่องนี้ให้คติสอนใจ และสอนให้รู้ว่า ความไม่ประมาท

สุนัขผู้ซื่อสัตย์

มีบ้านหลังหนึ่งได้เลี้ยงสุนัขเอาไว้เฝ้าบ้าน ซึ่งสุนัขตัวนั้น ซื่อสัตย์มาก และรักเจ้าของมาก ในยามกลางคืนขณะที่มันนอนหลับ หากได้ยินเสียงผิดปกติมันก็จะลุกขึ้นมาเห่าเสมอเพื่อ เตือนภัยเเก่เจ้าของบ้าน คืนหนึ่ง มันได้ยินเสียงฝีเท้าคนย่ำใบไม้ดังกรอบเเกรบ เเผ่วเบาที่ใกล้รั้วบ้านเเม้จะไม่เห็นว่าเป็นใครมันก็ส่งเสียงเห่าคำรามขู่ไว้ก่อน เจ้าหัวขโมยจึงโยนเนื้อซุบยาเบื่อชิ้นหนึ่งเข้ามาในรั้ว สุนัขเฝ้าบ้านเดินเข้าไปดมๆ เเต่ก็ไม่กินมันยังคงเห่าต่อไปจนกระทั่งเจ้าของบ้านออกมาดู เเล้วก็ช่วยกันจับขโมยได้ในที่สุด
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า  อามิสสินบนนั้นซื้อความซื่อสัตย์ภักดีไม่ได้เลย สาธุ

สิงโตกับที่ปรึกษา

พญาสิงโตได้ถามเเกะว่า "ลมหายใจข้า กลิ่นเป็นอย่างไรบ้าง"
เมื่อเเกะดมเเล้วก็ตอบตามความจริงว่า"เหม็นมากเลยท่านโสติง"
สิงโตโกรธมาก "จึงจับเเกะกินเสีย"
เเล้วก็เรียกหมาป่าเข้ามาถาม หมาป่าเลยตอบว่า"ไม่มีกลิ่นเลยท่าน"
คำตอบของหมาป่าทำให้สิงโตโกรธ "จึงจับหมาป่ากินเสีย"
เพราะคิดว่าหมาป่าได้เเต่ประจบ ไม่มีความจริงใจ
ต่อมาสิงโตเรียกสุนัขจิ้งจอกมาถามบ้าง สุนัขจิ้งจอกจึงตอบว่า
"วันนี้ข้าเป็นหวัด จมูกคงดมอะไรไม่ได้กลิ่นหรอกท่าน"สิงโตเห็นว่ามีเหตุผลจึงปล่อยตัวไป
นิทานอีสปเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ถ้าท่านมีปัญญา ก็สามารถเอาตัวรอดได้

ประวัติความเป็นมาของอีสป ผู้เป็นต้นกำเนิดของนิทานอีสป

 อีสป เป็นชื่อของชายคนนึงที่เกิดในเมืองฟรีเยียในดินแดนที่ปัจจุบันเรียกว่าเอเซียไมเนอร์ในยุคเมื่อราวปี 620-560 ก่อน คริสตศักราชหรือก่อนสมัยพุทธกาลเล็กน้อย ซึ่งเป็นดินแดนที่ทวีปเอเชีย และยุโรป มาชนกัน และเป็นดินแดนที่เจริญรุ่งเรืองมากในสมัยของอีสป เนื่องจากเป็นแหล่งรวมของบรรดาพ่อค้าวาณิช พวกทูตและ นักท่องเที่ยวรวมทั้งเป็นดินแดนที่มีการค้าทาสกันอย่างมากมายในสมัยนั้น และอีสปก็คือทาสคนหนึ่งของที่นั่น ซึ่งมีสมญาว่า Ethiop(เอธิออป) ซึ่งมีความหมายว่าตัวดำ แต่ชาวยุโรปเรียกเสียงเพี้ยนไปเป็น Aesop (อีสป) (ชื่อเอธิออปเชื่อว่ามาจากชื่อประเทศเอธิโอเปีย ต่อมาเปลี่ยนเป็น อะบิสซีเนีย) แต่บางตำนานบอกว่าอีสปอาจจะมาจากเมืองเทรซ ไพรเกียเอธิโอเปีย ซามอส เอเธนส์ หรือเมืองซาร์ดิส ซึ่งไม่มีใครรู้แน่นอน 
ซึ่งเดิมทีนั้นอีสปเป็นทาสอยู่ที่เมืองซามอส (Samos) ประเทศกรีซ อิดมอนหรือเอียดม็อน คือเจ้านายของอีสป ได้ี่ให้อีสปเป็นครูสอนหนังสือลูกๆของเขา บ้านของอิดมอนเป็นที่พบปะสังสรรค์กันในหมู่บุคคลสำคัญของกรีก อีสปจึงมีโอกาสได้พบเห็นและรู้จักกับบุคคลเหล่านั้น ซึ่งอีสปมีความสามารถพิเศษ สังเกตรู้ได้ด้วยวิจารณาญของเขาว่า ใครเป็นคนอย่างไร และอิมมอนได้รู้ในความพิเศษของเขามักจะนำอีสปไปด้วยเสมอเมื่อไปพบกับคนใหญ่คนโตของกรีก และอีสปได้เล่านิทานให้พวกเขาเหล่านั้นฟัง ซึ่งทำให้เป็นที่ชื่นชอบของทุกคน ที่ได้ฟังเรื่องเล่าของอีสป 
ซึ่งในประวัติเล่าว่า อีสปนั้นมีรูปร่างที่อัปลักษณ์ผิดมนุษย์ คือ จมูกบี้ ปากแบะ ลิ้นคับปาก หลังงุ้ม ผิวดำมืด อีสปมักจะพูดเสียงอยู่ในลำคอ ไม่ค่อยมีใครฟังได้ยินว่าเขากล่าวว่าอะไร แต่ภูมิปัญญาของเขานั้นล้ำเลิศนัก โดย แต่ผู้ที่ได้ฟังนิทานจากอีสปมักติดอกติดใจในเนื้อหา ข้อคิด คติเตือนใจ ด้วยเหตุนี้คนสำคัญๆของกรีก มักจะเชิญอีสปเป็นแขกให้ไปเล่านิทานให้ฟังอยู่เสมอๆ
ต่อมาเมื่อนายของเขาคืออิดมอนได้ให้อิสระภาพแก่อีสป อีสปก็ได้เข้าไปอาศัยอยู่ในวังของกษัตริย์ครีซุส ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่ร่ำรวยมหาศาล ทำให้อีสปได้พบกับรัฐบุรุษของเอเธนส์และนักปราชญ์ผู้รอบรู้ต่างๆมากมาย โดยเฉพาะนักปราชญ์ที่ชื่อ โซลอน 

บางตำนานบอกว่าอีสปเคยเข้าไปอยู่ในสำนักของโซมอล ซึ่งเป็นนักกฎหมายที่มีชื่อเสียงมาก โซลอนเป็นญาติของปีซัสเตรตัส ผู้ปกครองแห่งเอเธนส์ ซึ่งชาวเมืองคิดจะขับไล่ออกจากตำแหน่งเจ้าเมือง เพราะเห็นว่าปิซัสเตรตัสปกครองประชาชนโดยใช้อำนาจกดขี่ข่มเห่งประชาชน ซึ่งอีสปเองได้เล่านิทานเรื่อง “กบเลือกนาย”่ เพื่อให้กับประชาชนชาวเอเธนส์ฟัง ทำให้ชาวเมืองเลื่อมใสการปกครองของปิซัสเตรตัสได้สำเร็จ นอกจากนั้นอีสปยังได้เล่านิทานอุปไมยหลายๆเรื่อง ณ สำนักของโซมอลแห่งนี้ 
นิทานอีสป นิทานอีสป ของอีสปได้เค้าโครงมากจาก หลายๆที่โดยเป็นเรื่องเล่าเก่าๆของอินเดีย อาระเบีย กรีก เปอร์เซียและดินแดนอื่นๆ โดยอีสปนำมาดัดแปลงเล่าใหม่ นิทานอีสปเป็นนิทานที่เล่าปากเปล่าไม่มีการจัดบันทึกเป็นหลักฐาน แต่ต่อมามีผู้บันทึกเอาไว้ เช่นหลักฐานของแผ่นปาปิรัสอียิปต์โบราณ เป็นต้น 

ซึ่งผู้ที่บันทึกและรวบรวมไว้ คือ ฟีดรัส ทาสชาวมาซีโดเนียนในยุคจักรพรรดิออกุสตุส จักรวรรดิแรกแห่งโรมัน ได้เป็นผู้หนึ่งที่รวบรวมเรื่องราวของนิทานอีสปเอาไว้เป็นภาษาลาติน บางตำนานบอกว่าชาวกรีกผู้หนึ่งชื่อว่า เดมิตริอุส ได้รวบรวมนิทานอีสปโดยเขียนเป็นหนังสือไว้เมื่อราว 30 ปีก่อนคริสต์ศักราช ต่อมามีผู้เขียนขึ้นใหม่อีกหลายคน จนพระที่ชื่อมาซิมุล พลานูด ได้แปลนิทานอีสปจากภาษาลาตินเป็นภาษาอังกฤษเมื่อ ค.ศ. 1400 ต่อมาชนชาติอื่นได้นำนิทานอีสปมาแปลเป็นของชนชาติตน แต่คงคติคำสอน และข้อคิดอันเป็นหัวใจสำคัญของเรื่องยังคงได้รับการรักษาเอาไว้ได้อย่างดีเยี่ยม